• ร่วมงานกับเรา
  • โอกาสทางธุรกิจ
  • ติดต่อเรา
  • TH
  • EN
Logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับซัสโก้
    สารจากประธานกรรมการ ความเป็นมา วิสัยทัศน์ / พันธกิจ โครงสร้างธุรกิจ คณะกรรมการบริษัท คณะผู้บริหาร โครงสร้างการจัดการ ความรับผิดชอบต่อสังคม การกำกับดูแลกิจการ โครงการในอนาคต
  • ผลิตภัณฑ์และบริการ
    น้ำมันเครื่อง สถานีบริการ SUSCO SQUARE
  • ส่งเสริมการขาย
  • นักลงทุนสัมพันธ์
    • หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
    • ข้อมูลทางการเงิน
      • งบการเงิน
      • ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
      • คำอธิบายและการวิเคราะห์
      • สุขภาพหุ้น
      • ฟอร์ม 56-1
      • หนังสือชี้ชวน
    • ข้อมูลราคาหลักทรัพย์
      • ราคาหลักทรัพย์
      • ราคาหลักทรัพย์ย้อนหลัง
      • เครื่องคำนวณการลงทุน
    • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
      • ข้อมูลสำหรับผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิ
      • โครงสร้างผู้ถือหุ้น
      • การประชุมผู้ถือหุ้น
      • นโยบายจ่ายเงินปันผล
      • สรุปข้อสนเทศ
    • เอกสารเผยแพร่
      • รายงานประจำปี
      • รายงานความยั่งยืน
      • ESG Data Platform
    • ปฎิทินกิจกรรม
    • ข้อมูลนำเสนอแบบมัลติมีเดีย
    • ข้อมูลบทวิเคราะห์
    • ข่าวสารบริษัท
      • ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
      • ข่าวสารล่าสุด
      • ข่าวจากสื่อสิ่งพิมพ์
      • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • สอบถามข้อมูล
      • ข่าวสารทางอีเมล
      • ฝากคำถาม
      • คำถามที่ถูกถามบ่อย
      • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
    • ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
  • ร่วมงานกับเรา
  • โอกาสทางธุรกิจ
  • ติดต่อเรา

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น

สมัครออนไลน์

ซัสโก้
สมาร์ท เมมเบอร์

SUSCO
SMART CLUB

ดาวน์โหลดเอกสารอื่นๆ

หนังสือรับรองบริษัท

ข้อบังคับบริษัทฯ

คู่มือจริยธรรมธุรกิจ


กฏบัตรคณะกรรมการ

กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท

กฏบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ

กฎบัตรคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน


นโยบายบริษัท

นโยบายการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

นโยบายการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท

นโยบายแผนพัฒนากรรมการ

นโยบายการสืบทอดตำแหน่ง

นโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

นโยบายการรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ

นโยบายด้านนวัตกรรม

นโยบายด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม

นโยบายบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นโยบายการจัดหาและจัดซื้ออย่างยั่งยืน

แผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและสารเคมี คลังราษฎร์บูรณะ

คู่มือการบริหารความเสี่ยง

จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

  • นโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ
  • นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น
  • นโยบายภาษี
  • นโยบายการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น


ด้วยคณะกรรมการบริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริตบริหารงานด้วยความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล เห็นว่าการคอร์รัปชั่นเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่สร้างความเสียหายแก่ ประเทศชาติและสังคมไทย จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องการต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ โดยร่วมลงนามในคำประกาศเจตนารมณ์ "แนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต" และจะปฏิบัติตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชั่นและสินบนของประเทศไทยอย่างเคร่งครัด และจัดทำนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น ตลอดจนกำหนดกฎเกณฑ์แนวทางปฏิบัติและบทลงโทษเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นแนวทางป้องกัน มิให้มีการคอร์รัปชั่นและการรับหรือให้สินบนในองค์กร ตลอดจนปลูกจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ นำไปปฏิบัติ

ในการนี้คณะกรรมการของบริษัทในการประชุมครั้งที่ 8/2558 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 ได้แต่งตั้ง "คณะทำงานการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น" ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ทำหน้าที่และรับผิดชอบในการจัดทำนโยบายและกำหนดแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ติดตามการปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น เพื่อให้บริษัทฯ บริษัทย่อยและบริษัทร่วมปลอดจากการคอร์รัปชั่น โดยให้คณะทำงานนี้รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งจะรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทอีกทอดหนึ่ง

บัดนี้ คณะทำงานฯ ได้จัดทำนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นและข้อพึงปฏิบัติของพนักงานค้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นเสนอและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 จึงประสงค์จะให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายรับทราบและปฏิบัติตามด้วย

คำนิยาม

คำนิยามที่จะกล่าวต่อไปนี้มีความหมายที่กว้าง เพื่อให้ทราบว่าการคอร์รัปชั่นครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ส่วนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติในเรื่องใด จะมีความผิดหรือไม่ ได้อธิบายไว้พอเป็นสังเขปแล้วในเรื่องที่จะกล่าวต่อไป

การคอรัรัปชั่นหมายถึง การเบียดบังยักยอกทรัพย์ การแสวงหาอำนาจ โดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กระทำการเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องโดยวิธีการที่ผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ และจริยธรรมทางธุรกิจ ตลอดจน การให้หรือรับสินบนในรูปแบบต่างๆ เช่น การเสนอให้ มอบให้ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้เรียกร้องให้หรือรับซึ่งเงินหรือสิ่งของแทนเงิน ของขวัญ บริการ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม แก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะ โดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำผิดศีลธรรมอันดี เพื่อผลประ โยชน์ทางธุรกิจหรือผลประโยชน์ส่วนตนอันไม่เหมาะสม การคอร์รัปชั่นสามารถแอบแฝงอยู่ในการกระทำหลายรูปแบบ เช่น

  • การช่วยเหลือหรือสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง (Political Contributions) หมายถึง การให้ความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงินหรือรูปแบบใดก็ตาม เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง เช่น การบริจาคเงิน ให้พรรคการเมือง การให้สิ่งของหรือบริการ การซื้อบัตรเข้าชมงานที่จัดเพื่อระดมทุน หรือการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองหรือองค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมือง ฯลฯ ซึ่งอาจมีเจตนาแอบแฝง ผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือผลประ โยชน์ส่วนตนที่ไม่เหมาะสมไว้ด้วย
  • การบริจาคเพื่อการกุศล (Donations) และการให้การสนับสนุน (Sponsorships) หมายถึง การบริจาคเงินสิ่งของ หรือบริการ ให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อทำบุญ บำรุงศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนกิจกรรมช่วยเหลือสังคม เป็นต้น เงินสนับสนุนแตกต่างจากการบริจาค เพื่อการกุศล เนื่องจากเงินสนับสนุนมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ สร้างตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัทฯ ซึ่งบางครั้ง การบริจาคหรือ ให้เงินสนับสนุนอาจมีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝง เช่น การบริจาคเพื่อซื้อบัตรการกุศลจากผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญาหรือโครงการของบริษัทฯ เป็นต้น
  • การให้หรือการรับของขวัญ การเลี้ยงหรือรับเลี้ยงรับรอง (Gift and Hospitality)หมายถึง การให้หรือรับของขวัญทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ตลอดจนการเลี้ยงหรือรับเลี้ยงรับรองต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปกระทำ ตามมารยาททางธุรกิจ แต่บางครั้งอาจมีการแอบแฝงผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือผลประโยชน์ส่วนตนที่ไม่เหมาะสมไว้ด้วย
  • การจ่ายเงินเพื่อให้อำนวยความสะดวก (Facilitation Payment)หมายถึง สินบนซึ่งจ่ายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและ/หรือ เอกชน เพื่อให้อำนวยความสะดวกหรือเร่งรัดการปฏิบัติงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว
  • การขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Con fict of Interest)หมายถึง สถานการณ์ หรือการกระทำที่ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัท เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ ส่วนรวมซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจหรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอย่าง ไม่เป็นกลาง และส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม โดยการกระทำดังกล่าวอาจเกิดขึ้นอย่างรู้ตัวหรือ ไม่รู้ตัว ทั้งเจตนาหรือไม่เจตนา ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลายจนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไป โดยไม่เห็นว่าเป็นความผิด จนส่งผลให้บุคคลนั้นขาดการตัดสินใจที่เที่ยงธรรม
  • การจ้างพนักงานรัฐ (Revolving Door)หมายถึง การที่บุคคลผู้เป็น หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาทำงานค้านนโยบายให้กับบริษัท และอาจอาศัยความสัมพันธ์หรือข้อมูลภายในไปเอื้อประโยชน์ต่อบริษัท ซึ่งอาจ ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ โดยผลของการกระทำนั้นมุ่งหวังให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม หรือการจัดทำนโยบายเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทที่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐไปทำงานให้

ขอบเขตการบังคับใช้

นโยบายฉบับนี้บังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทร่วมตลอดจนบริษัทที่บริษัทฯ มีอำนาจควบคุม และบุคคลที่สามที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ฉะนั้น จึงให้คำว่า บริษัทฯ ที่ใช้ในประกาศนี้ ครอบคลุมถึงบริษัทและบุคคลอื่นที่กล่าวถึงข้างต้นด้วย

บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ

  • คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่เกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชั่นดังต่อไปนี้ :
    • กำหนดและอนุมัตินโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น
    • กำกับดูแลให้มีระบบสนับสนุนการต่อต้านการคอรัปชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ
    • รับผิดชอบให้มีการนำมาตรการต่อต้านการคอรัปชั่นไปปฏิบัติให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผล
    • มอบและกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้ผู้บริหารทุกระดับนำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นไปปฏิบัติ
    • ดูแลให้พนักงานทุกระดับปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัด
  • คณะกรรมการตรวจสอบได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ให้ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น รับเรื่องร้องเรียน ตลอดจนสอบทานขั้นตอนการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • คณะทำงานการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท และได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบให้จัดทำนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการต่อต้านการคอร์รัปชั่นติดตามการปฏิบัติงาน ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นด้วย
  • ผู้บริหาร นอกจากจะมีหน้าที่และปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัดแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้ข้อมูล การสื่อสาร จัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ารับการอบรม ในเรื่องของนโยบายต่อต้านการคร์ รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับทราบและเข้าใจนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการต่อต้านการคอร์รัปชั่นเป็นอย่างดี ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา กรณีที่มีข้อสงสัยด้วย
  • พนักงาน ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัด

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น

บริษัทฯ ไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายให้หรือฝ่ายรับ และ ห้ามพนักงานทุกระดับใช้อำนาจหน้าที่ของตนในการแสวงหาหรือยอมรับเงิน บริการ สิ่งของ การรับรอง ฯลฯ รวมถึงการให้เงินบริจาค ให้เงินสนับสนุน ให้หรือรับสิ่งของ/ของขวัญ หรือการเลี้ยงรับรอง เพื่อให้ได้ผลประโยชน์อันมิควรได้ทางธุรกิจหรือเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก

บริษัทฯ ต้องไม่สนับสนุนพรรคการเมือง นักการเมือง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมือง ไม่ว่าจะด้วยที่เป็น ตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินทั้งทางตรงหรือทางอ้อม หรือกระทำการอื่นใด เพื่อคาดหวังผลตอบแทนทางธุรกิจ

บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางและขั้นตอนในการปฏิบัติ เพื่อให้พนักงานทุกระดับนำไปปฏิบัติดังมีรายละเอียดปรากฏเอกสาร "ข้อพึงปฏิบัติของพนักงานค้านการต่อต้านคอร์รัปชั่น" สำหรับกรรมการและผู้บริหารก็ให้ปฏิบัติตาม แนวทางดังกล่าวโดยอนุโลมด้วย

บริษัทฯ จะสอบทานขั้นตอนการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง และรักษาชื่อเสียงของบริษัทฯ

หากพนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการ ฝ่าฝืนหรือกระทำการอันขัดต่อนโยบายนี้ จะได้รับการพิจารณาโทษ ตามความหนักเบาของความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ และ หรือ ตามบทบัญญัติของกฎหมาย ว่าด้วยการนี้

บริษัทฯ มีนโยบายที่จะไม่ลงโทษหรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้น จะทำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ และให้นโยบายนี้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้วย

แนวทางการปฏิบัติ

  • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นและข้อพึงปฏิบัติของพนักงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่น ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะพึงมีในอนาคต โดยจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
  • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และจะแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือคณะทำงานการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือคณะกรรมการ ตรวจสอบทราบ โดยให้ความร่วมมือในการไต่สวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งบริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองและความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียน รวมถึงผู้ที่ให้ข้อมูลและให้ความร่วมมือในการรายงานการคอร์รัปชั่นด้วย
  • ผู้ที่กระทำผิด จะต้องได้รับโทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ และตามกฎหมาย

การประเมินความเสี่ยง

คณะทำงานการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจะประเมินความเสี่ยงเรื่องการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจะทบทวนมาตรการการจัดการความเสี่ยงนั้น ให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลาการควบคุมภายใน การติดตาม และการตรวจสอบการควบคุมภายในและการติดตาม เป็นขั้นตอนการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ส่วนการตรวจสอบเป็นกระบวนการที่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของระบบการควบคุมภายใน เอกสาร และการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้บริหาร นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ของบริษัทฯ ซึ่งมีรายละเอียดปรากฏในเอกสารที่เกี่ยวกับการควบคุมภายในของบริษัท

สำนักตรวจสอบภายในและคณะทำงานการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จะดูแลระบบการควบคุมภายในเพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น ติดตาม และทบทวนการปฏิบัติตามนโยบายนี้เป็นระยะๆ

การจัดเก็บข้อมูล

ในกรณีที่บริษัทฯ จะให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเมือง การบริจาคเพื่อการกุศล การให้การสนับสนุน อื่นๆ ที่มีความหมิ่นเหม่ต่อข้อหาเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น จะต้องได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรรมการผู้จัดการ คณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการบริษัท ตามขนาดของรายการที่กำหนดไว้ในอำนาจการอนุมัติของบริษัทฯ ก่อนเสมอ

สำหรับการให้หรือการรับของขวัญ และการเลี้ยงรับรองหรือรับเลี้ยงรับรองที่มีมูลค่าเกินกว่า 5,000.00 บาท ต่อคนต่อครั้ง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกรอกแบบฟอร์มการให้หรือรับของขวัญและการเลี้ยงรับรอง แล้วเสนอให้ประธาน คณะทำงานการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทราบหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี และให้ฝ่ายบัญชีและการเงินเป็นผู้ทำหน้าที่ เก็บเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใสและ พร้อมที่จะรับการตรวจสอบได้เสมอ

การอบรมและการสื่อสาร

เพื่อส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมองค์กรที่ปราศจากและต่อต้านการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ บริษัทฯ จะจัดให้มี การให้ความรู้แก่คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง และ ให้นโยบายนี้เป็นหนึ่งในนโยบายหลัก ที่ต้องมีการอบรมและสื่อสารกับพนักงานเข้าใหม่ทุกคน รวมถึงเมื่อมีการแต่งตั้งกรรมการหรือผู้บริหารใหม่ โดยบริษัทฯ จะจัดให้มีการปฐมนิเทศ ให้ความรู้เรื่องการต่อต้านการคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ บริษัทฯ จะสื่อสารมาตรการต่อต้าน การคอร์รัปชั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียด้วย

กรณีพนักงานมีข้อสงสัย

ในกรณีที่พนักงานไม่มั่นใจ มีคำถามหรือข้อสงสัยว่าการกระทำใดจะเข้าข่ายติดสินบนหรือคอร์รัปชั่นหรือไม่ ให้สอบถามผู้บังคับบัญชาหรือคณะทำงานการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายให้ ปรึกษาสำนักกฎหมาย และให้ทุกคำถามมีคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถตรวจสอบและ ติดตามได้เสมอ



ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566



บริษัทฯ ได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

บริษัทฯ ได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560 และได้รับประกาศนียบัตรรับรองต่ออายุการเป็นสมาชิกฯ ในวันที่ 30 กันยายน 2566

เติมพลังให้วันของคุณ

หน้าหลัก

เกี่ยวกับซัสโก้

  • สารจากประธานกรรมการ
  • ความเป็นมา
  • วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
  • โครงการในอนาคต
  • โครงสร้างธุรกิจ
  • คณะกรรมการบริษัท
  • คณะผู้บริหาร
  • โครงสร้างการจัดการ
  • ความรับผิดชอบต่อสังคม
  • การกำกับดูแลกิจการ

ผลิตภัณฑ์และบริการ

  • น้ำมันเครื่อง
  • สถานีบริการ

ส่งเสริมการขาย

นักลงทุนสัมพันธ์

ร่วมงานกับเรา

โอกาสทางธุรกิจ

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ติดต่อเรา

สำนักงานใหญ่และคลังน้ำมันราษฎร์บูรณะ

เลขที่ 139 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
  • โทรศัพท์ (+66) 2428-0029
  • โทรสาร (+66) 2428 8001
  • และ 0-2427-6460
แผนที่บริษัท
copyright © susco public company limited - All rights reserved.
เว็บไซต์ susco.co.th มีการเก็บ Cookies ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า Cookies Notice
ยอมรับ